Article

ทำความรู้จัก Lean Thinking ??

แนวคิดแบบลีน (Lean Thinking) คือ แนวทางที่จะขจัดความสิ้นเปลืองและสูญเปล่า (Wastes) ของทุกกิจกรรม และกระบวนการดำเนินงานที่ไม่ได้ก่อให้เกิดมูลค่า โดยการทำให้ต้นทุนต่ำลง และจัดเรียงทุกๆ กิจกรรมที่สร้างคุณค่า (Value) ให้กับผลิตภัณฑ์ ให้มีประสิทธิภาพด้วยต้นทุนที่น้อยที่สุด เพื่อสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าโดยการใช้ทรัพยากรอย่างจำกัด ซึ่งแนวคิดนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทั้งภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม

โดยแนวคิดแบบลีนที่มีรากฐานมาจากระบบการผลิตแบบโตโยต้า ภายใต้แนวคิดเพื่อรักษาการไหลเวียนของสินค้า ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นการผลิตเฉพาะสิ่งที่จำเป็น ในปริมาณที่จำเป็น และในเวลาที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อขจัดความสูญเปล่าออกไป โดยความสูญเปล่าที่ต้องกำจัดตามวิถี The Toyota Way มีดังนี้:

ความสูญเปล่าที่ต้องกำจัด (8 Wastes: DOWNTIME)

  • Defect – มีของเสียมากเกินไป ต้นทุนสูญเปล่า และเกิดการซ่อมแซมแก้ไข
  • Over production – ผลิตสินค้ามากเกินไป เปลืองที่จัดเก็บและงบประมาณ
  • Waiting – รอนานเกินไป ทำให้กระบวนการทำงานหยุดชะงัก
  • None utilized talent – ไม่รับฟังความเห็นพนักงาน ใช้คนไม่เป็น
  • Transportation – ขนย้ายบ่อย ต้องใช้กำลังคนและเวลา
  • Inventory – สินค้าคงคลังมากเกินไป สินค้าไม่ถึงมือลูกค้า
  • Motion – การเคลื่อนไหวมากเกินไป อาจเกิดความเสียหาย
  • Excess processing – ขั้นตอนการทำงานมากเกินความจำเป็น

SME สามารถนำแนวคิดแบบลีนไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร? (Lean Thinking)

สำหรับแนวคิดแบบลีน (Lean Thinking) ที่ไม่ใช่เพียงแต่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตได้เท่านั้น แต่ภาคธุรกิจก็สามารถนำแนวคิดนี้มาปรับใช้ได้เช่นกัน โดยธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) สามารถเรียนรู้ได้จากแนวคิด Lean Startup และ Lean Canvas

Lean Startup คือ

แนวทางในการออกแบบและพัฒนาสินค้า ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุคดิจิทัล โดยแนวคิดนี้เริ่มต้นมาจาก Eric Ries ที่เน้นการสร้างวงจรการเรียนรู้แบบไม่รู้จบ เพื่อให้ธุรกิจสามารถพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ โดยการค้นหา “คุณค่า” และเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของผู้บริโภค การสำรวจตลาด และสังเกตุพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย จึงเป็นสิ่งที่ควรทำ เพื่อนำมาสร้างสรรค์ และนำเสนอสินค้าและบริการ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ถูกต้อง ต่อเนื่อง และรวดเร็ว โดยหัวใจหลักของ Lean Startup คือ การสร้าง (Build) การวัดผล (Measure) และการเรียนรู้ (Learn) เมื่อสินค้าออกมาสู่ตลาด ไม่ได้แปลว่ากระบวนการทุกอย่างจะจบลงเพียงเท่านั้น แต่จะต้องมีการรับฟัง Feedback จากลูกค้า และผู้ใช้งานจริง เพื่อนำมาวิเคราะห์และพัฒนาสินค้า โดยมุ่งเน้นในการใส่ใจคุณภาพ และการตอบสนองความต้องการลูกค้า และโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว

Lean Canvas คือ

เครื่องมือในสำหรับเขียนโมเดลธุรกิจฉบับย่อและกระชับ เพื่อให้เห็นภาพรวมของธุรกิจทั้งหมด และสามารถนำไปใช้ได้จริง ซึ่งถูกคิดค้นโดย Ash Maurya โดยหัวใจหลักเน้นที่การค้นหาปัญหา (Pain point) ของลูกค้า และความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำมาพัฒนาสินค้าและนำไปทดลองตลาดได้อย่างรวดเร็ว โดยการวางแผนนั้นพิจารณาปัจจัยธุรกิจที่สำคัญดังนี้:

  • Problem – ปัญหาของผู้บริโภค
  • Customer Segment – กลุ่มเป้าหมายผู้บริโภค (อายุ เพศ พฤติกรรม ความชอบ ความสนใจ)
  • Unique Value Proposition – ธุรกิจสร้างคุณค่าให้ผู้บริโภค และมีความโดดเด่นอย่างไร
  • Solution – สินค้าจะสามารถแก้ปัญหาให้ผู้บริโภคได้อย่างไร
  • Channels – การสื่อสารกับผู้บริโภคจะทำผ่านช่องทางใด
  • Revenue Streams – ธุรกิจจะมีรายได้จากทางใดบ้าง ประมาณการรายได้
  • Cost Structure – ต้นทุนในการผลิต การกระจายสินค้า การตลาด
  • Key Metrics – กำหนดการวัดผล เพื่อประเมินความเสี่ยงของธุรกิจ
  • Unfair Advantage – ข้อได้เปรียบที่ทำให้ธุรกิจโดดเด่น และเหนือกว่าคู่แข่ง

เมื่อกรอกข้อมูลครบทั้งหมดแล้ว จะทำให้ผู้ประกอบการเข้าใจภาพรวมธุรกิจได้ง่ายขึ้นและกว้างขึ้น ซึ่งสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปเพื่อวิเคราะห์ Strategy ที่เหมาะสม รอบด้าน เพื่อวางแผนธุรกิจต่อไป ซึ่งคุณสามารถนำไอเดียเหล่านี้ไปทดลองจริง ซึ่งนั่นจะทำให้ธุรกิจสามารถประสบความสำเร็จได้ในเวลาอันรวดเร็วยิ่งขึ้น

ขอบคุณที่มา peerpower.co.th/blog/ผู้ประกอบการ/การจัดการธุรกิจ/lean-thinking/

Lean Thinking ในปี 2024

Lean Thinking ยังคงเป็นแนวคิดที่มีความสำคัญอย่างมากในปี 2024 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีความท้าทายสูง การนำ Lean Thinking มาประยุกต์ใช้ช่วยให้องค์กรสามารถปรับตัวและเติบโตได้อย่างยั่งยืน

แนวโน้มสำคัญของ Lean Thinking ในปี 2024:

  • การมุ่งเน้นที่คุณค่าของลูกค้า: องค์กรต่างๆ จะให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าอย่างลึกซึ้ง เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงใจและสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า
  • การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล: เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น AI, Machine Learning, และ Automation จะถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดความสูญเปล่าในกระบวนการทำงานต่างๆ
  • การสร้างวัฒนธรรม Lean: องค์กรจะให้ความสำคัญกับการสร้างวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การทำงานเป็นทีม และการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกระดับ
  • การขยายขอบเขตการประยุกต์ใช้: Lean Thinking ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในภาคการผลิตอีกต่อไป แต่จะถูกนำไปใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น บริการ สุขภาพ และการศึกษา

ประโยชน์ของ Lean Thinking ในปี 2024:

  • เพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน: Lean Thinking ช่วยให้องค์กรสามารถระบุและกำจัดความสูญเปล่าในกระบวนการทำงาน ส่งผลให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน
  • ปรับปรุงคุณภาพ: การมุ่งเน้นที่คุณค่าของลูกค้าและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างต่อเนื่อง
  • เพิ่มความคล่องตัว: Lean Thinking ช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
  • สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า: การนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงใจและสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าช่วยสร้างความพึงพอใจและความภักดีในระยะยาว

ตัวอย่างการนำ Lean Thinking ไปใช้:

  • Toyota: เป็นผู้บุกเบิก Lean Thinking และยังคงเป็นผู้นำในการนำแนวคิดนี้ไปใช้อย่างต่อเนื่อง
  • Nike: ใช้ Lean Thinking ในการปรับปรุงกระบวนการออกแบบและผลิตภัณฑ์
  • Mayo Clinic: ใช้ Lean Thinking ในการปรับปรุงกระบวนการดูแลผู้ป่วย
Close